
โอกาสเสี่ยงที่ทำให้เป็นโรคจอประสาทตาเสื่อมนั้นเกิดได้จากหลายปัจจัย ได้แก่
- อายุที่มากขึ้น โดยเฉพาะผู้ที่มีอายุมากกว่า 50 ปี
- เผชิญแสงแดดหรือแสงอัลตราไวโอเลตเรื้อรัง (แสงสีฟ้า) การวิจัยทางการแพทย์เผยว่าแสงสีน้ำเงินสามารถแทรกผ่านสารสีที่พบในตาและเป็นอันตรายต่อดวงตาบริเวณเซลล์ที่ศูนย์กลางเรตินา โดยจะเข้าไปลดความเข้มข้นของสารสี เกิดเป็นปัจจัยเสี่ยงให้จอประสาทตาเสื่อมเมื่อมีอายุมากขึ้น
- น้ำหนักเกินมาตรฐาน
- สูบบุหรี่
- ดื่มสุรา
- มีประวัติบุคคลในครอบครัวป่วยเป็นโรคจอประสาทตาเสื่อม
- ผู้ที่เป็นโรคหัวใจหลอดเลือด เช่น ความดันโลหิตสูง คอเลสเตอรอลในหลอดเลือดสูง
ที่มา : https://www.pobpad.com (ข้อมูลวันที่ 10 พ.ค. 2563)
ลูทีนและซีแซนทีนกับโรคจุดรับภาพเสื่อม
โรคจุดรับภาพเสื่อม เป็นอาการของโรคที่ทำ ให้ความสามารถในการมองเห็นลดลง เกิดการมองภาพบิดเบี้ยวไปเหมือนมีจุดดำบังไว้ตรงกลางภาพ และสูญเสียการมองเห็น เฉพาะภาพส่วนกลางในที่สุด (อ้างอิงที่ 14) มีงานวิจัยว่า หากปริมาณลูทีนและซีแซนทีนในลูกตาลดน้อยลง ความเสี่ยงในการเป็นโรคจุดรับภาพเสื่อมจะเพิ่มมากขึ้น แต่ในทางกลับกัน หากมีปริมาณลูทีนและซีแซนทีนในเลือดสูงขึ้น จากการบริโภคอาหารที่มีลูทีนและซีแซนทีน ความเสี่ยงในการเป็นโรคจุดรับภาพเสื่อมจะลดลง ซึ่งแสดงให้เห็นว่า การบริโภคอาหารที่มีลูทีนและซีแซนทีน สามารถช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคจุดรับภาพเสื่อมได้ (อ้างอิงที่ 14)
นอกจากลูทีนและซีแซนทีนจะช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคต้อกระจกแล้ว ยังพบว่ามีประโยชน์ในโรคจุดรับภาพเสื่อม ซึ่งมีหลายๆ การศึกษาสนับสนุนข้อมูลดังกล่าว โดยพบว่าถ้าปริมาณลูทีนและซีแซนทีนในลูกตาลดน้อยลง จะพบความเสื่อมมากขึ้นในการเป็นโรคจุดรับภาพเสื่อม (อ้างอิงที่ 10) และความเสี่ยงในการเป็นโรคจุดรับภาพเสื่อมจะลดลง หากมีปริมาณลูทีนและซีแซนทีนในเลือดสูงขึ้น (อ้างอิงที่ 11,12) แสดงให้เห็นว่า การบริโภคอาหารที่มีลูทีนและซีแซนทีน สามารถช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคได้
ลูทีน และซีแซนทีน กับสุขภาพร่างกาย
จากงานวิจัยรายงานว่า ผู้ที่บริโภคอาหารที่มีโปรตีนในปริมาณมากอย่างต่อเนื่อง จะลดความเสี่ยงในการเป็นโรค หัวใจขาดเลือด โรคหลอดเลือดตีบในสมอง และอุบัติการณ์ของมะเร็งเต้านม ในสตรีช่วงหมดประจำเดือนอีกด้วย (อ้างอิงที่ 17,18,19)
วิตามิน เอ
วิตามิน เอ มีประโยชน์ต่อร่างกายหลายประการ ที่สำคัญ คือ ช่วยในการมองเห็น (อ้างอิงที่ 13) โดยไปร่วมใช้ ในการสร้างสารที่ใช้ในการมองเห็น หากขาดจะทำให้มองเห็นได้ยากในเวลากลางคืนหรือในที่แสงสว่างน้อย และทำให้เยื่อบุตาแห้ง กระจกตาเป็นแผล ในกรณีที่ร่างกายขาดวิตามิน เอ อย่างรุนแรงอาจทำให้ตาบอดได้
ด้วยหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ งานวิจัยหนึ่งค้นคว้าเกี่ยวกับการทำงานของวิตามินเอที่เกี่ยวข้องกับการทำงานของสายตา เมื่อเพิ่มปริมาณการให้วิตามินเอแบบเรตินอยด์ในกลุ่มผู้สูงวัยที่ป่วยด้วยโรคจอประสาทตาเสื่อมตามอายุ (Age-related Macular Degeneration: AMD) ในระยะแรกเริ่มหรือผู้สูงวัยที่มีจอตาเป็นปกติตามวัย พบผลลัพธ์ในระยะสั้น คือ ผู้ป่วยมีอัตราความไวของตาในการรับแสงในที่มืดเพิ่มขึ้น
ลูทีน ซีแซนทีนและวิตามินเอ จึงเหมาะสำหรับ
- ผู้ที่ต้องการใช้ชีวิตติดจอโทรศัพท์ พูดคุยอัปเดตข่าวสารต่างๆผ่านทาง Social Media ตลอดเวลา
- ผู้ที่ต้องการนั่งทำงานหน้าจอคอมพิวเตอร์ หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆเป็นเวลานาน
- ผู้ที่ใช้สายตามากๆ เป็นเวลาต่อเนื่อง เช่นอ่านหนังสือ หรือขับรถไปนานๆ
- เด็กวัยเรียนและวัยเจริญเติบโต
- ผู้ที่ไม่ชอบทาน ผักและผลไม้
- ผู้ที่มีภาวะเสี่ยงต่อการเป็นโรคต้อกระจกและจุดรับภาพตาเสื่อม และทุกๆคนที่ต้องการปกป้องดูแลดวงตา